|
|
บทความและข้อมูลที่มีประโยชน์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชธรรมชาติ |
|
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน |
|
|
|
วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยไม่ว่าจะเป็น เพื่อการผ่อนคลาย เพื่อความงามหรือดูแลรักษาผิว หรือทางการดูแลสุขภาพร่างกายก็ดี มีวิธีนำไปใช้หลัก ๆ ได้แก่ การสูดดมน้ำมันหอมระเหยโดยตรง การหยดใส่ผสมน้ำอาบ แช่ตัว ผสมในน้ำมันนวดตัว การประคบร้อนและเย็น การกระจายกลิ่นในอากาศ การผสมในเครื่องสำอาง โลชั่น หรือครีมบำรุงผิว อีกทั้งยังนำไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สปาต่าง ๆ เพื่อการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่นผสมในเกลือขัดตัว หรือผสมในเกลือสปาเม็ดสำหรับใช้แช่ในอ่างอาบน้ำ ผสมในแชมพูเพื่อบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ หรือผสมในสบู่เหลวสำหรับอาบน้ำ เป็นต้น ปริมาณการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อผสมกับครีม โลชั่น หรือน้ำมัน Carrier Oil ต่าง ๆ คือ 2-5% สำหรับผิวกาย, 1-2% สำหรับผิวหน้า และไม่ควรเกิน 1% สำหรับผิวเด็กหรือผู้แพ้ง่าย
น้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ
- Peppermint, Rosemary หรือ Geranium 2-3 หยดในอ่างน้ำร้อนเวลาอาบน้ำตอนเช้า ช่วยให้สดชื่นตื่นตัวและคลายความง่วงนอน
- สูดดม Geranium, Rosemary ช่วยคลายเครียด คลายอาการล้าและง่วงนอน ช่วยให้สดชื่นตื่นตัว ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- สูดดม Melissa, Roman Chamomile เพื่อคลายอาการเครียด ช๊อค กลุ้มใจ กังวล หรือไมเกรน หรืออาการที่เกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ
- กระจายกลิ่น Lavender, Roman Chamomile ในห้องนอน หรือหยดระหว่างอาบน้ำตอนเย็น ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายหายเหนื่อยหลับสบาย
- กระจายกลิ่น Frankincense, Tea Tree, Immortelle ในห้องนอนเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาระบบการหายใจ
- ผสม Marjoram หรือ Clary Sage 2 หยดลงบนน้ำมัน Virgin Oil นวดบริเวณช่วงท้องเพื่อลดอาการปวดประจำเดือนและอาการข้างเคียง
- ผสม Lemongrass, Blackpepper 1-2 หยดใน Carrier Oil 1 ช้อนโต๊ะนวดบริเวณท้องเพื่อช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
- Cypress, Geranium หรือ Blackpepper 2-3 หยดลงบนบอดี้โลชั่นที่ใช้เป็นประจำ ช่วยกระชับผิวป้องกันเส้นเลือดขอดและสลายเซลลูไลท์
- ผสม German Chamomile และ Lavender ประมาณ 1-2% ในครีม, โลชั่น เพื่อรักษาอาการโรคผิวหนังต่าง ๆ และลดอาการอักเสบของสิว
- นวดน้ำมันหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของ Rosemary 1-2 หยดเพื่อคลายอาการปวดกล้ามเนื้อจากการเดินทางไกล หรือก่อนและหลังจากการเล่นกีฬา
การกระจายกลิ่นในอากาศ
-
เตาต้มน้ำมันหอมระเหย มีหลักการคือ การให้ความร้อนน้ำมันหอมระเหยที่ลอยตัวอยู่บนน้ำที่ใส่ไว้บนเตาความร้อน ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะกลายเป็นไอกระจายไปในอากาศ การให้ความร้อนมีสองแบบคือใช้ความร้อนจากเทียนจุดให้ความร้อนกับเตา และการให้ความร้อนจากหลอดไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
-
การใช้พัดลมกระจายกลิ่น วิธีนี้จะไม่ให้ความร้อนกับน้ำมันหอมระเหย แต่จะเป่าให้ไอระเหยจากน้ำมันหอมระเหยกระจายไปในอากาศ
-
เครื่องกระจายความร้อนไฟฟ้า จะมีลักษณะคล้ายกับสองแบบแรกผสมกัน โดยจะให้ความร้อนแก่น้ำัมันหอมระเหยที่ใส่ลงไป และตัวเครื่องจะมีพัดลมซึ่งทำหน้าที่เป่าให้ไอของน้ำมันหอมระเหยกระจายไปในอากาศ เครื่องกระจายความร้อนไฟฟ้าสามารถใช้ได้ดีกับน้ำมันที่มีความหนืดสูง เช่น แพทชูลี่ หรือ แซนเดิ้ลวูด
-
เครื่องเนบูไลเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำมันหอมระเหยแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ และระเหยไปในอากาศโดยไม่ใช้ความร้อน ทำให้โมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น มะลิ ไม่เสียหายจากความร้อน และสามารถซึมซับเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าวิธีอื่น ๆ และวิธีนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีการกระจายกลิ่นในอากาศอื่น ๆ ทั้งหมด แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้กับน้ำมันหอมระเหยที่มีความเข้มข้นสูงได้ เช่น แซนเดิ้ลวูด เมอร์ เพราะความหนืดของน้ำมันหอมระเหยจะทำให้เครื่องตัน
-
กระจายกลิ่นในรถ เพื่อเพิ่มความสดชื่น ตื่นตัวเวลาขับรถ ให้ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบ หยดลงบนเบาะผ้า หรือในภาชนะที่จัดไว้ เพื่อให้กลิ่นหอมกระจายไปทั่วรถสร้างความสดชื่นตื่นตัวเวลาขับ ข้อควรระวัง ไม่ควรหยดลงบนเบาะหนังหรือคอนโซลพลาสติกหน้ารถ เพราะอาจทำให้เสียหายได้ ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ช่วยทำให้สงบผ่อนคลาย เช่น ลาเวนเดอร์ คาโมไมล์ เนื่องจากอาจทำให้ผ่อนคลายเกินไปและเหม่อได้ ควรใช้กลิ่นประเภทที่ช่วยกระตุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยูคาลิปตัส เป๊ปเปอร์มิ๊นท์ และเมนทอล
การอบไอน้ำมันหอมระเหย ผสมน้ำอาบหรือแช่ตัว
ผู้ใช้สามารถใช้น้ำมันหอมระเหยหยดลงบนฟองน้ำหรือใยขัดผิว หรือหยดลงในอ่างน้ำอุ่น 2-3 หยด และแช่ตัวในอ่างอาบน้ำประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยสามารถซึมเข้าสู่ผิวกาย และได้สูดไอระเหยจากน้ำมันหอมระเหยไปด้วยพร้อม ๆ กัน การผสมน้ำมันหอมระเหยในอ่างอาบน้ำสามารถทำได้โดยหยดน้ำมันหอมระเหยโดยตรง หรือผสมกับน้ำมันพื้นฐาน เช่น Sweet Almond ก่อนแล้วจึงค่อยผสมในอ่างอาบน้ำ หรือสามารถใช้น้ำส้มสายชู (Red wine vinegar) ในปริมาณน้อยผสมกับน้ำมันหอมระเหย แล้วหยดลงในอ่างอาบน้ำก็ได้ หรือสามารถใช้วิธีอบไอน้ำ โดยเทน้ำร้อนลงในชามอ่างใบใหญ่ อาจเป็นอ่างล้างหน้า หรือชามใบใหญ่ก็ได้ แล้วหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 2-3 หยดลงไป อังหน้าเหนือจากผิวน้ำประมาณ 1 ฟุต ใ้ช้ผ้าขนหนูคลุมศีรษะเอาไว้ แล้วจึงสูดไอระเหยจากน้ำมันหอมระเหย ควรระวัง ไม่ใช้น้ำมันหอมระเหยเกิน 3 หยด เพราะไอระเหยจากน้ำมันหอมระเหยจะมีความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้ระคายเคืองเวลาสูดไอระเหยได้ ระวังไม่ให้น้ำร้อนเกินไปเพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนที่ใบหน้า้ และไม่ควรลืมตาเวลาอังน้ำร้อน เพราะไอโมเลกุลที่ระเหยออกมาของน้ำมันหอมระเหยจะทำให้รู้สึกระคายเคืองต่อดวงตาได้
ผสมน้ำมันพื้นฐานสำหรับนวดตัว
การนวดตัวไม่ว่าจะเป็นนวดด้วยสมุนไพร นวดด้วยเกลือ หรือน้ำมันหอมระเหยนั้น มีวิธีนวดแตกต่างกันไปตามตำแหน่งตามร่างกายที่นวดและจุดประสงค์ของการนวด ไม่ว่าจะเป็นนวดขาเพื่อคลายเมื่อยหรือเพื่อลดต้นขา นวดตัว นวดแขน ใบหน้า หรือขมับ การผสมน้ำมันหอมระเหยกับน้ำมันตัวพา หรือน้ำมันพื้นฐาน (Carrier Oil) นั้น จะผสมในเปอร์เซ็นต์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่างกายที่้ต้องการนวดและผู้นวด เช่น ผสมน้ำมันหอมระเหย 3-4% เพื่อนวดแขนขาและตัว 1-2% สำหรับใบหน้า อาจลดเหลือไม่เกิน 1% สำหรับผู้มีผิวที่ sensitive หรือเด็ก วิธีผสมน้ำมันหอมระเหยให้ได้เปอร์เซ็นต์ตามที่ต้องการง่าย ๆ คือ น้ำมันหอมระเหย 1 หยดจะมีปริมาตรประมาณ 0.05-0.08 cc (มิลลิลิตร) ดังนั้น การผสมน้ำมันหอมระเหย 3% ในน้ำมันตัวพา 10ml จะต้องใช้น้ำมันหอมระเหยเพียงประมาณ 4-5 หยดเท่านั้น
ผสมน้ำทำเป็นสเปรย์ฉีดห้องสร้างบรรยากาศ
น้ำมันหอมระเหยสามารถนำไปผสมให้เจือจางลงในน้ำแร่ หรือน้ำธรรมดา เพื่อใช้ฉีดตามร่างกาย ใบหน้า หรือฉีดสร้างบรรยากาศในห้อง เพื่อเพิ่มความสดชื่น ตื่นตัว หรือเพื่อผ่อนคลาย ตามแต่ละประเภทของน้ำมันหอมระเหย โดยเจือจางประมาณ 0.5% หรือประมาณ 8-10 หยด ลงในขวดแก้ว หรือขวดพลาสติก แข็ง PET ที่บรรจุน้ำประมาณ 100 ml แล้วเขย่าให้เข้ากัน หรือใช้่ขวดบรรจุที่ขนาดเล็กกว่านั้นก็ยิ่งดี เพราะแต่ละครั้ง ควรที่จะใช้ให้หมดภายในเวลา 1 เดือน
|
|
|
คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดในด้านอายุรเวท (การบำบัดรักษาต่าง ๆ) |
|
|
น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ที่สกัดมาจากพืชได้ถูกน้ำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการบำบัดรักษาอาการต่าง ๆ ของร่างกายอย่างกว้างขวาง ตามตารางข้างล่างเป็นข้อมูลที่ผู้ที่ต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยในเชิงบำบัดรักษาสามารถเลือกชนิดของน้ำมันหอมระเหยได้อย่างถูกต้อง แต่อย่างไรก็ดี ก่อนนำน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดไปใช้ทุกครั้งควรระวังในเรื่องของอาการแพ้น้ำมันหอมระเหยที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้บางคน โดยควรที่จะทดสอบอาการแพ้เสียก่อน [สามารถอ่านวิธีทดสอบได้ที่นี่] และระวังเป็นอย่างยิ่งที่จะไม่ใช้น้ำมันหอมระเหยสัมผัสผิวโดยตรง โดยเฉพาะในส่วนที่บอบบาง เช่น ขอบตา ริมฝีปาก ใบหู หรือส่วนอื่น ๆ ก่อนใช้ทุกครั้งควรเจือจางน้ำมันหอมระเหยให้อยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 5% หรือไม่เกิน 1% สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย น้ำมันหอมระเหยในตระกูล Citrus เช่น ส้ม มะกรูด มะนาว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดหลังจากการใช้เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการ phototoxic หรือการระคายเคืองอันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยาของน้ำมันหอมระเหยกับแสงแดด ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยโดยขาดความรู้และความเข้าใจในข้อมูลที่สำคัญ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยด้วยการรับประทานหรือรักษาภายในด้วยการทานเด็ดขาด เว้นเสียแต่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
Massage: เจือจางในน้ำมัน Carrier Oils เช่น Jojoba, Sweet Almond, Grapeseed หรือ Rosehip ประมาณ 1-3% เพื่อนวดร่างกาย 10-20 นาที
Oil-Lotion: นำไปผสมในน้ำมัน Carrier Oils หรือโลชั่นเพื่อทาบริเวณที่ต้องการ
Compress: หยด 2-3 หยดในผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นหรือเย็น แล้วประคบในบริเวณที่ต้องการประมาณ 5 นาที
Bath: หยด 2-3 หยดในอ่างอาบน้ำขณะแช่ตัว
Vaporization: กระจายกลิ่นในอากาศด้วยเตาเผาน้ำมันหอมระเหย, ทำเป็น Spray หรือเครื่อง Vaporizer ต่าง ๆ
Inhalation: อ่านข้อมูลวิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยด้วย Steam Inhalation ด้านบน หรือ [คลิ๊กที่นี่]
Neat Application: หยดน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ลงบน Cotton Bud แล้วแต้มบริเวณที่ต้องการ
*** น้ำมันหอมระเหยไม่ได้มีคุณสมบัติในการรักษาอาการต่าง ๆ ให้หายขาด เป็นการบำบัดเพื่อช่วยให้ทุเลาลงเท่านั้น แม้ว่าอาจใช้ได้ผลดีกับบางอาการก็ตาม
อาการที่พบ |
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ |
วิธีการนำไปใช้ |
|
|
|
Skin Care - อาการที่เกี่ยวกับผิวหนัง |
|
Acne (สิว) |
Geranium, Lavender, Rosemary, Tea Tree |
Massage, Oil-Lotion, Inhalation |
Allergies (อาการแพ้, ผื่นคัน) |
Melissa True, Chamomile (German & Roman), Lavender |
Massage, Lotion, Bath, Inhalation |
Athlete's foot (น้ำกัดเ้ท้า) |
Lavender, Myrrh, Tea Tree |
Oil-Lotion |
Hair Care (บำรุงรักษาผม) |
Bay, Clary Sage, Juniper Berry, Kaffir Lime, Lavender, Rosemary |
Oil-Lotion, Hair Spray, Shampoo |
Boils (น้ำร้อนลวก, บวม, พอง) |
Bergamot, Lavender, Tea Tree |
Oil-Lotion, Compress, Bath |
Bruises (แผลถลอก) |
Fennel Sweet, Lavender |
Oil-Lotion, Compress |
Burns (แผลไฟลวก) |
Lavender |
Compress, Neat Application |
Congested & Dull Skin (เลือดคั่ง, เส้นเลือดขอด) |
Geranium, Grapefruit, Lavender, Rosemary |
Massage, Oil-Lotion, Bath, Inhalation |
Dandruff (รังแค) |
Bay, Kaffir Lime, Lavender, Rosemary |
Shampoo, Hair Oil |
Dry & Sensitive Skin (ผิวแห้งและแพ้ง่าย) |
Chamomile (German & Roman), Sandalwood |
Massage, Oil-Lotion, Bath |
Eczema (แผลเปื่อย) |
Bergamot, Chamomile (German & Roman), Immortelle, Lavender |
Massage, Oil-Lotion, Bath |
Excessive Perspiration (เหงื่อออกมาก, กลิ่นตัว) |
Cypress |
Oil-Lotion, Bath |
Insect bites (แมลงสัตว์กัดต่อย) |
Melissa True, Lavender, Tea Tree |
Oil-Lotion, Neat Application |
Insect Repellent (ป้องกันแมลงรบกวน) |
Citronella, Lemongrass, Plai |
Oil-Lotion, Vaporization |
Irritated & Inflamed skin (ระคายเคือง, อักเสบ) |
Chamomile (German & Roman), Plai, Myrrh, Patchouli |
Oil-Lotion, Compress, Bath |
Ringworm (กลาก) |
Lavender, Myrrh, Tea Tree |
Oil-Lotion |
Scars & Stretchmarks (รักษารอยแผลเป็น) |
Frankincense, Lavender, Immortelle, Neroli, Sandalwood |
Massage, Oil-Lotion |
Toothache (ปวดฟัน) |
Clove Bud, Myrrh |
Compress, Neat Application |
Wounds (แผลสด) |
Chamomile (German & Roman), Eucalyptus, Tea Tree, Yarrow |
Oil-Lotion, Compress, Bath |
|
|
|
Circulation, Muscles and Joints - ระบบไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อ และข้อต่อ |
|
Accumulation of toxins (ล้างพิษในร่างกาย) |
Carrot Seed, Fennel Sweet, Grapefruit, Juniper |
Massage, Oil-Lotion, Bath |
Aches & Pains (อาการเจ็บหรือปวดต่าง ๆ) |
Eucalyptus, Ginger, Lavender, Marjoram, Blackpepper, Rosemary |
Massage, Compress, Bath |
Arthritis (ข้ออักเสบ) |
Chamomile (German & Roman), Eucalyptus, Peppermint, Rosemary |
Massage, Compress, Bath |
High Blood Pressure (ความดันโลหิตสูง) |
Garlic, Lavender, Marjoram, Yarrow, Ylang Ylang |
Massage, Bath, Vaporization |
Muscular cramp & Stiffness (ตะคริว) |
Lavender, Marjoram, Blackpepper, Rosemary |
Massage, Compress, Bath |
Palpitation (ใจสั่น) |
Orange, Rose Otto, Ylang Ylang |
Massage, Bath |
Low Blood Pressure (ความดันโลหิตต่ำ) |
Eucalyptus, Ginger, Blackpepper, Rosemary |
Massage, Bath |
Rheumatism (โรคปวดในข้อ, โรคเข้าข้อ) |
Chamomile (German & Roman), Cypress, Eucalyptus, Rosemary |
Massage, Compress, Bath |
|
|
|
Respiratory System - ระบบทางเดินหายใจ |
|
Asthma (โรคหืด) |
Frankincense, Lavender, Peppermint, |
Vaporization, Inhalation |
Catarrh (อาการหวัดมีน้ำมูกไหล) |
Eucalyptus, Lavender, Peppermint, Tea Tree |
Vaporization, Inhalation |
Chronic coughs (อาการไอเรื้อรัง) |
Melissa True, Cypress, Frankincense, Immortelle |
Vaporization, Inhalation |
Halitosis (ลมหายใจมีกลิ่นแรง) |
Cardamom, Fennel Sweet, Peppermint, Myrrh |
Oil-Lotion, Inhalation |
Laryngitis, Hoarseness (คออักเสบ, เสียงแหบ) |
Frankincense, Lavender, Sandalwood |
Inhalation |
Sinusitis (ไซนัส) |
Eucalyptus, Ginger, Peppermint, Tea Tree |
Inhalation |
Sore Throat (เจ็บคอ) |
Bergamot, Eucalyptus, Lavender, Sandalwood, Tea Tree |
Vaporization, Inhalation |
|
|
|
Digestive System - ระบบทางเดินอาหาร, การย่อยอาหาร |
|
Colic (อาการจุกเสียดช่วงท้อง) |
Chamomile (German & Roman), Ginger, Marjoram, Peppermint |
Massage |
Constipation (ท้องผูก) |
Blackpepper, Ginger |
Massage, Bath |
Indigestion (อาหารไม่ย่อย) |
Cardamom, Ginger, Lavender, Marjoram, Peppermint, Verbena |
Massage |
Nausea, Vomiting (คลื่นเหียนอาเจียน) |
Chamomile (German & Roman), Ginger, Peppermint |
Vaporization |
|
|
|
Immune System - ระบบภูมิคุ้มกัน |
|
Cold, Flu (ไข้หวัด) |
Eucalyptus, Peppermint, Immortelle, Tea Tree |
Massage, Vaporization, Inhalation |
Fever (ไข้ขึ้นสูง) |
Eucalyptus, Peppermint, Immortelle, Rosemary, Tea Tree, Yarrow |
Compress, Bath |
|
|
|
Nervous System - ระบบประสาท, ความรู้สึก |
|
Anxiety (อาการกลุ้มใจ กังวล) |
Melissa True, Bergamot, Frankincense, Jasmine, Lavender |
Massage, Bath, Vaporization |
Depression (ซึมเศร้า) |
Melissa True, Bergamot, Lavender, Neroli, Rose Otto, Sandalwood |
Massage, Bath, Vaporization |
Headache (ปวดศีรษะ) |
Chamomile, Lavender, Peppermint |
Massage, Compress, Vaporization |
Insomnia (นอนไม่หลับ) |
Melissa True, Chamomile, Lavender, Neroli, Valerian |
Massage, Bath, Vaporization |
Migraine (ไ่มเกรน) |
Melissa True, Chamomile, Lavender, Yarrow |
Compress |
Nervous Exhaustion (เหนื่อยล้า) |
Jasmine, Peppermint, Rosemary, Vetiver |
Massage, Bath, Vaporization |
Nervous Tension, Stress (เครียด) |
Melissa True, Geranium, Chamomile, Frankincense, Clary Sage |
Massage, Bath, Vaporization |
Shock (อาการช๊อค) |
Melissa True, Lavender, Neroli |
Massage, Bath, Vaporization |
Vertigo (หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ) |
Melissa True, Lavender, Peppermint |
Vaporization, Inhalation |
|
|
|
การเก็บรักษาและข้อพึงระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย |
|
|
น้ำมันหอมระเหยเป็นสิ่งที่สามารถระเหยได้ง่ายและรวดเร็วเมื่อถูกกระทบโดยอากาศ ความร้อน หรือแสงไฟ ผู้ใช้จึงควรเก็บน้ำมันหอมระเหยไว้ในขวดแก้วทึบแสงที่ป้องกันน้ำมันหอมระเหยจากแสงภายนอกที่จะทำลายคุณภาพของน้ำมันหอมระเหย และปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการระเหยออกสู่อากาศ ควรเก็บไว้ในที่ ๆ มีอุณภูมิพอเหมาะ คือประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส หรืออาจเก็บไว้ในตู้เย็นก็ได้ ถึงแม้ว่าน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน แต่น้ำมันหอมระเหยส่วนมาก จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี แล้วหลังจากนั้นจะค่อย ๆ เสื่อมคุณภาพอย่างช้า ๆ ยกเว้นน้ำมันหอมระเหยประเภท ซิทรัส ซึ่งได้แต่พืชตระกูลส้ม ที่จะมีอายุใช้งานสั้นอยู่ที่ 9-18 เดือน
ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย
- เก็บน้ำมันหอมระเหยไว้ในที่ปลอดภัยจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นยาภายในเด็ดขาด เว้นเสียแต่ได้รับการแนะนำจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
- ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยกับผิวโดยตรง เนื่องจากความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยอาจทำให้เิกิดการระคายเคืองได้
- ระวังไม่ควรขยี้ตาหรือสัมผัสผิวหนังส่วนที่อ่อนบางในขณะที่กำลังใช้น้ำมันหอมระเหยอยู่ เนื่องจากอาจมีน้ำมันหอมระเหยติดอยู่ที่มือได้
- น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีผลทำให้สมองสั่งงานให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว สำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วง 1-3 เดือนแรก จึงห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างเด็ดขาดเพราะอาจเกิดอันตรายกับครรภ์ได้ ถ้าต้องการใช้ ควรใช้หลังจากช่วง 5 เดือน เจือจางน้ำมันหอมระเหยในปริมาณที่น้อยกว่า 1% ก่อนใช้ทุกครั้ง และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์อย่างละเอียด
- เจือจางน้ำมันหอมระเหยให้เหมาะกับผู้ที่ใช้และประเภทการใช้งาน สำหรับเด็กและผู้มีผิวแพ้ง่าย ควรเจือจางให้ไม่เกิน 1%
- ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยกับเด็กแรกเกิดที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้มีความรู้ก่อนการใช้น้ำมันหอมระเหยทุกครั้ง
- น้ำมันหอมระเหยในตระกูลส้มจะไวต่อแสงแดด จึงควรหลีกเลี่ยงการถูกแดดหลังจากนวดตัวด้วยน้ำมันประเภทนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
- ไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดเดิมซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนทุก ๆ 9-12 สัปดาห์ และหยุดใช้ซักพักก่อนกลับมาใช้ใหม่
- ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยไม่ว่าชนิดใด ๆ ผู้ใช้ควรทดสอบว่ามีอาการแพ้น้ำมันชนิดนั้น ๆ รึเปล่า ทุกครั้ง
วิธีทดสอบการแพ้น้ำมันหอมระเหย ทำได้โดยหยดน้ำมันหอมระเหยลงบนสำลี แล้วแต้มที่บริเวณข้อมือหรือข้อพับแขน แล้วปล่อยทิ้งไว้สังเกตุการณ์ประมาณ 12 ชั่วโมง ถ้ามีอาการคันหรือผื่นแดงขึ้น แสดงว่าอาจมีอาการแพ้น้ำมันหอมระเหย จึงควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยชนิดนั้น ถ้ามีอาการแสบและคันมาก ให้ใช้น้ำมัน Sweet Almond หรือน้ำมันมะพร้าว ทาบริเวณที่คัน แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น
|
|
|
สูตรการผสมน้ำมันหอมระเหยและน้ำมันธรรมชาติเพื่อการบำรุงผิวและดูแลร่างกาย และทำผลิตภัณฑ์ใช้ในบ้าน |
|
|
สูตรบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ
- สูตรเพื่อเส้นผมแข็งแรง ดกดำ เงางาม กระตุ้นรากผมใหม่ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม
- สูตรทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะ ขจัดรังแค
- สูตรลดความมันของเส้นผมและหนังศีรษะ
- สูตรสำหรับผมแห้งเสียจากมลภาวะ แดด และการแต่งสี
สูตรบำรุงผิวหน้า
- สูตรขจัดสิว ลดการอักเสบและการเกิดสิว
- สูตรลบเลือนรอยแผลเป็นและรอยด่างดำจากสิว
- สูตรฟื้นฟูสภาพผิวหน้าให้เนียนเรียบเต่งตึง ลดริ้วรอยจากวัย
- สูตรน้ำมันนวดใบหน้า ขจัดเซลล์ผิวเก่า ผลัดเซลล์ผิวใหม่เพื่อหน้าขาวใสยิ่งขึ้น
- สูตรสเปรย์ฉีดใบหน้าและร่างกายให้ความสดชื่น ป้องกันผิวแห้งแตก
- สูตรทำน้ำยาบ้วนปาก หรือผสมทำ Oil Pulling
สูตรบำรุงผิวกาย
- สูตรบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น สีผิวเนียนเรียบสม่ำเสมอ
- สูตรลดเลือนและชะลอริ้วรอยแห่งวัย เพื่อผิวเนียนนุ่ม สุขภาพดี
- สูตรบำรุงมือและเล็บให้แข็งแรง
สูตรน้ำมันนวดตัวทั่วไป
- สูตรน้ำมันนวดตัวทั่วไป
- สูตรน้ำมันนวดตัวเพื่อผ่อนคลาย
- สูตรน้ำมันนวดตัวสูตรร้อน กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน กระชับสัดส่วน
- สูตรน้ำมันนวดตัวลดเซลลูไลท์ ผิวเปลือกส้ม เพื่อผิวสวยเนียนเรียบ
- สูตรน้ำมันนวดตัวลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สูตรเย็น
- สูตรน้ำมันนวดช่วงท้องเพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหาร แ้ก้ท้องอืดเฟ้อ กระตุ้นระบบขับถ่าย ขับพิษจากร่างกาย
สูตรทำสเปรย์ฉีดห้อง และของใช้อื่น ๆ
- สเปรย์ป้องกันยุงและแมลง แบบฉีดตามตัวได้
- สเปรย์ไล่ยุงและแมลง แบบฉีดในพื้นที่
- สเปรย์ฉีดหมอน ตู้เสื้อผ้าไม้ กำจัดไรฝุ่นและเชื้อโรคต่าง ๆ
- สเปรย์ฉีดในห้องน้ำ ลดกลิ่นเหม็นอับ ฆ่าเชื้อโรค เชื้อราตามซอกมุม
- น้ำมันหอมระเหยสำหรับใ่ส่ขวดปักก้านหวาย กระจายกลิ่นในห้องนอน ห้องน้ำ หรือห้องรับแขก
- ก้อน Fizzy Bath Bombs และ Fizzy Toilet Bombs สำหรับใช้นำอ่างอาบน้ำให้กลิ่นหอม หรือทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์
- Essential Oil Water Soluble - น้ำมันหอมระเหยแบบหยดละลายน้ำได้ สำหรับใช้ในอ่างอาบน้ำ ทำผ้าร้อน ผ้าเย็น
- Essential Oil for Diffuser - น้ำมันหอมระเหยแบบเติมขวดปักก้านหวายกระจายกลิ่น
|
|
|
|