ทับทิม เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่คนนิยมปลูกไว้ในบ้านด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ และกิ่งของทับทิมจะช่วยปัดเป่าสิ่งอัปมงคลให้ออกไปจากตัวได้ ทับทิมมีแหล่งกำเนิดมาจากแถบอิหร่าน อิสราเอล ตุรกี หรือที่เรียกว่าดินแดนเปอร์เซีย มีประวัติบันทึกไว้ยาวนานตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณในการนำมาเป็นยารักษาโรคและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
จากการศึกษาโดยวิทยาการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้ได้รับรู้ว่า น้ำมันสกัดจากเมล็ดทับทิมมีความพิเศษมากกว่าน้ำมันสกัดจากพืชชนิดอื่น ๆ เนื่องจากน้ำมันเมล็ดทับทิมมีกรดไขมันที่หายากชนิดหนึ่ง เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแบบ Conjugated Fattly Acid ที่มีชื่อว่า Punicic acid อยู่ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นกรดไขมันแบบดีที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ และต้องได้รับจากอาหารเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ กรดไขมันชนิดนี้มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกับ beta-Carotene ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่ามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี ทำให้น้ำมันสกัดจากเมล็ดทับทิมมีคุณสมบัติในการป้องการกันเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว และฟื้นฟู กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ใหม่ โดยจากการศึกษาวิจัยของ Aston University ในเมือง Birmingham ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง Lipid Chemistry พบว่า เมื่อนำน้ำมันเมล็ดทับทิมในปริมาณ 1% ไปผสมกับน้ำมันชนิดอื่น ๆ จะช่วยสร้างความเสถียรและรักษาคุณภาพ ช่วยลดอัตราการเกิดออกซิเดชั่นซึ่งเป็นสาเหตุของการเสื่อมคุณภาพของน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากนี้ น้ำมันเมล็ดทับทิมยังมีสารไฟโตสเตอรอลชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า beta-sitosterol ที่มีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง รักษาแผล ฟื้นฟูเซลล์ผิว และต่อต้านการเกิดการผิดปกติของเซลล์ผิว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย
กราฟด้านล่าง (ซ้าย) แสดงให้เห็นว่าน้ำมันสกัดจากเมล็ดทับทิม (เส้นสีน้ำเงินเข้ม) มีอัตราการเกิดออกซิเดชั่นต่ำสุดเมื่อเทียบกับน้ำมันสกัดจากพืชชนิดอื่น ๆ เช่น Grapeseed, Borage, Sweet Almond และ Sesame ส่วนกราฟตัวกลาง แสดงให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบน้ำมัน Borage 100% และนำมัน Borage ที่มีการผสมน้ำมันเมล็ดทับทิมเข้าไป 1% ทำให้น้ำมัน Borage ที่ผสมนั้น มีอัตราการเกิดออกซิเดชั่นที่ต่ำลงอย่างมาก และกราฟสุดท้ายแสดงให้เห็นว่า น้ำมัน Borage ที่ผสมวิตามิน E เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมัน Borage ที่ผสมน้ำมันเมล็ดทับทิม ผลคือน้ำมัน Borage ที่ผสมเมล็ดทับทิม ยังมีอัตราการเกิดออกซิเดชั่นที่ต่ำกว่าอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า น้ำมันสกัดจากเมล็ดทับทิม มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิดออกซิเดชั่นที่มีประสิทธิภาพมาก
Punicic Acid
|
เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนหายากชนิดหนึ่ง ที่พบเป็นปริมาณมากในน้ำมันสกัดจากเมล็ดทับทิม (70-80%) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ดี นำไปใช้ผสมกับน้ำมันชนิดอื่น ๆ เพื่อลดอัตราการเกิดออกซิเดชั่น รักษาคุณภาพของน้ำมัน หรือนำไปเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางเพื่อสร้างความเสถียรให้กับตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากหลาย ๆ แหล่งที่เชื่อถือได้อีกว่า Punicic Acid ที่ได้จากน้ำมันสกัดเมล็ดทับทิมมีคุณสมบัติในการต้านเซลล์มะเร็งอีกด้วย
|
Linoleic acid
Oleic acid
|
หรือกรดไขมันโอเมก้า 6, 9 มีหน้าที่ช่วยป้องกันเซลล์ผิวจากสภาพแวดล้อม ช่วยบำรุงผิวและทำให้ผิวเปล่งปลั่ง อ่อนนุ่ม และมีน้ำมีนวลอยู่เสมอ ไม่แห้งกร้าน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างเซลล์ผิวที่มีสุขภาพดี
|
Phytosterols
|
สารไฟโตสเตอรอลในน้ำมันเมล็ดทับทิมมีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง รักษาแผล ฟื้นฟูเซลล์ผิว และต่อต้านการเกิดการผิดปกติของเซลล์ผิวได้ดี
|
ข้อแนะนำในการนำไปใช้ |
- น้ำมันบริสุทธิ์ซึ่งได้จากการสกัดเย็นขั้นแรกของเมล็ดทับทิม จึงอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างเต็มเปี่ยม ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้แบบ 100% และสามารถใช้ในอัตราส่วนเพียง 5-10% ร่วมกับน้ำมันชนิดอื่น ๆ ที่มีเนื้อเบากว่า โดยที่ยังได้ประโยชน์จากสารสำคัญต่าง ๆ ในปริมาณที่เพียงพอ
- ใช้ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ อย่าง Immortelle French, Rosemary Verbenone
เพื่อลบเลือนริ้วรอยจากแผลเป็น แผลตกสะเก็ดได้เป็นอย่างดี
- ใช้ทาบริเวณหน้าท้อง, สะโพก, ต้นขา เพื่อป้องกันการเปิดรอยแตกลาย หรือริ้วรอยจากวัยได้เป็นอย่างดี
- แต้มเบา ๆ บริเวณผิวหนังที่อักเสบ เป็นสะเก็ด หรือเป็นตุ่มแข็ง จะช่วยฟื้นฟูให้กลับมาเป็นสภาพปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
|
ข้อควรระวังก่อนนำไปใช้ |
- เนื่องจากน้ำมันสกัดเย็นทุกชนิดมีความเข้มข้นสูง และมีสารอาหารมากกว่าน้ำมันเกรด Refined จึงไม่จำเป็นต้องใช้ในปริมาณ 100% หรือทดสอบการระคายเคืองในการใช้ครั้งแรกสำหรับน้ำมันทุกชนิด
- ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาิติ 100% แต่สตรีมีครรภ์ในช่วง 0-3 เดือนแรกและทารกอายุ 0-3 ปีแรก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการนำไปใช้
|
|
|