|
|
|
|
|
|
31. Cajeput
(Melaleuca leucadendron var. cajuputi - Indonesia)
เสม็ดขาวมีคุณสมบัติในการช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ นิยมใช้เป็นส่วนประกอบของยาดมหรือสูดดมเพื่อบรรเทาอาการไข้ ละลายเสมหะ รักษาอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการระงับอาการเจ็บปวด จึงช่วยให้ลดอาการปวดศีรษะหรือเจ็บคอระหว่างเป็นไข้ได้ดี อย่างไรก็ดี น้ำมันหอมระเหย Cajeput เหมาะกับการสูดดมมากกว่า หากใช้กับผิวอาจระคายเคืองง่าย หากต้องการนำไปใช้กับผิวควรใช้ Tea Tree หรือ Niaouli ที่อ่อนโยนกับผิวมากกว่า
|
|
|
|
|
|
32. Cananga
(Cananga odorata macrophylla - Indonesia)
น้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงา เป็นสายพันธ์ที่ปลูกทั่วไปในประเทศอินโดนีเซีย มีกลิ่นหอมหวานอบอวล มีคุณสมบัติช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจิตใจ กลิ่นหอมช่วยสร้างบรรยากาศในห้องนอนช่วยให้รู้สึกสบายและนอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น ใช้กระจายกลิ่นหอมในอากาศด้วยเตาน้ำมันหอมระเหย หรือหยดลงบนผ้าช่วยสร้างสมาธิในการทำงาน หรือใช้ 2-3 หยดในอ่างน้ำร้อนขณะอาบน้ำเพื่อความรู้สึกผ่อนคลายความเหนื่อยล้าหลังการทำงาน เข้ากันได้ดีกับ คลารี่ เสจ และลาเวนเดอร์
|
|
|
|
|
|
33. Cardamom
(Elettaria cardamomum - India)
คาร์ดามอม หรือน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดกระวาน มาจากเครื่องเทศที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนช่วยกระตุ้นซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของเครื่องเทศ นำไปใช้กระจายกลิ่นเพื่อช่วยบำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยคลายความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือนำไปเจือจางเพื่อนวดช่วงท้องเพื่อบำรุงระบบทางเดินอาหาร บรรเทาอาการจุกเสียด น้ำมันจากอินเดีย มีกลิ่นหอมเบาสดชื่นมากกว่าน้ำมันจากอินโดนีเซียที่ให้กลิ่นเครื่องเทศที่หนักกว่า
|
|
|
|
|
|
34. Cardamom Java
(Elettaria cardamomum - Indonesia)
คาร์ดามอม หรือน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดกระวาน มาจากเครื่องเทศที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนช่วยกระตุ้นซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของเครื่องเทศ นำไปใช้กระจายกลิ่นเพื่อช่วยบำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยคลายความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือนำไปเจือจางเพื่อนวดช่วงท้องเพื่อบำรุงระบบทางเดินอาหาร บรรเทาอาการจุกเสียด เนื่องจากคุณสมบัติกระตุ้นและร้อนจึงควรใช้ในปริมาณน้อย เข้ากันได้ดีกับขิงและไพล
|
|
|
|
|
|
35. Carrot Seed
(Daucus carota - France)
น้ำมันหอมระเหยเมล็ดแครอทมีคุณสมบัติในการบำรุงและปรับสภาพผิว เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเสริมสร้างเซลล์ผิวใหม่ จึงมีการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างแพร่หลาย นำไปผสมในน้ำมันนวดตัว โลชั่น ครีม เจลสำหรับบำรุงผิวที่แห้ง ใช้นวดบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยแตกช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่นของผิว นำมาใช้ประมาณ 1.00% ผสมกับน้ำมัน Virgin Oil ทาผิววันละครั้งก่อนเข้านอน จะช่วยลดริ้วรอยแห่งวัย ลดเลือนรอยแผลเป็น และทำให้ผิวเนียนนุ่มขึ้น
|
|
|
|
|
|
36. Celery Seed
(Apium graveolens - India)
Celery Seed Oil หรือน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดขึ้นฉ่าย มีประโยชน์หลายอย่างกับร่างกาย น้ำมันมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ มีคุณสมบัติช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด ลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ปรับสมดุลของเลือด ช่วยล้างพิษ กระตุ้นการขับของเสียออกจากร่างกาย และยังช่วยรักษาสมดุลระบบประสาท ลดอาการเครียด ช่วยให้ผ่อนคลายและนอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น เป็นน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงและรักษาสุขภาพที่ดี
|
|
|
|
|
|
37. Chamomile German
(Matricaria recutita - England)
เยอรมันคาโมมายล์ มีกลิ่นที่หอมหวานคล้ายกับผลแอปเปิ้ล น้ำมันหอมระเหยมีสีน้ำเงินเข้มอันเนื่องมาจากประกอบด้วยสาร chamazulene ที่มีสรรพคุณในการดูแลรักษาผิวและต้านอาการอักเสบอยู่ในปริมาณมาก จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาผิวสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ง่าย หรือรักษาอาการอักเสบหรือปัญหาผิวหนังต่าง ๆ แม้ว่าบลูคาโมมายล์มีคุณสมบัติต่าง ๆ ความคล้ายคลึงกับโรมันคาโมมายล์ แต่ก็มักจะนำไปใช้ในเรื่องการดูแลรักษาผิวเสียเป็นส่วนใหญ่
|
|
|
|
|
|
38. Champaca White
(Michelia alba D.C. - China)
น้ำมันหอมระเหยดอกจำปี สกัดด้วยวิธีคาร์บอนไดออกไซด์เหลวทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีความบริสุทธิ์สูง สะอาดและคงกลิ่นหอมอบอวลที่เป็นเอกลักษณ์ของดอกจำปีได้เป็นอย่างดี ซึ่งกลิ่นหอมนี้เองที่มีคุณสมบัติทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลายและสร้างสมาธิแก่ผู้ที่ได้ใช้ สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำหอมได้ดี ใช้ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยดอกมะลิ กระจายกลิ่นในห้องเพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายในเวลานอน หรือในเวลาที่ต้องการนั่งสมาธิก็ได้ผลดีเช่นกัน
|
|
|
|
|
|
39. Cinnamon Abs.
(Cinnamomum zeylanicum - Sri Lanka)
Cinnamon Bark หรือเปลือกอบเชยสายพันธ์จากศรีลังกา มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าซินนามอนแท้ กลิ่นหอมสกัดแอบโซลูทที่สกัดด้วยตัวทำละลายมีสีเข้ม กลิ่นหอมคงทนกว่าน้ำมันหอมระเหย จึงเหมาะสำหรับใช้ในน้ำหอมฉีดตัว แต่ก็มีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันหอมระเหยคือกระตุ้นการทำงานของร่างกาย การไหลเวียนของโลหิต ช่วยฆ่าเชื้อ บรรเทาอาการเป็นไข้ ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร มีฤทธิ์กระตุ้นค่อนข้างแรง จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และเจือจางในปริมาณไม่เกิน 0.2% เท่านั้น
|
|
|
|
|
|
40. Cinnamon Bark
(Cinnamomum zeylanicum - Madagascar)
Cinnamon Bark หรือเปลือกอบเชยสายพันธ์จากศรีลังกา มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าซินนามอนแท้ หรือ True Cinnamon ซึ่งแตกต่างจากสายพันธ์ของอินโดนีเซีย หรือ Cassia Bark ของจีน น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของร่างกาย การไหลเวียนของโลหิต ช่วยฆ่าเชื้อ และบรรเทาอาการเป็นไข้ เจือจางน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้นวดท้องช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร มีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารอดรีนาลีน จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และเจือจางในปริมาณไม่เกิน 0.2% เท่านั้น
|
|
|
|
|
|
41. Cinnamon Bark Java
(Cinnamomum burmani - Indonesia)
น้ำมันหอมระเหยซินนามอน หรือน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกอบเชย มีสีน้ำตาลแดงอ่อน ๆ แตกต่างกับน้ำมันหอมระเหยจากใบอบเชยที่จะมีสีเหลืองอ่อน มีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของร่างกาย การไหลเวียนของโลหิต ช่วยฆ่าเชื้อ และบรรเทาอาการเป็นไข้ เจือจางน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้นวดท้องช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกอบเชยมีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารอดรีนาลีน จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และเจือจางในปริมาณไม่เกิน 0.2% เท่านั้น
|
|
|
|
|
|
42. Cinnamon Leaf
(Cinnamomum zeylanicum - Madagascar)
Cinnamon Leaf หรือใบอบเชยสายพันธ์จากศรีลังกา มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าซินนามอนแท้ หรือ True Cinnamon น้ำมันสกัดจากใบ มีสีใสและอ่อนโยนกว่าน้ำมันจากเปลือกไม้ กลิ่นหอมสดชื่นกว่า มีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของร่างกาย การไหลเวียนของโลหิต ช่วยฆ่าเชื้อ และบรรเทาอาการเป็นไข้ เจือจางน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้นวดท้องช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร มีฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารอดรีนาลีน จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และเจือจางในปริมาณไม่เกิน 0.2% เท่านั้น
|
|
|
|
|
|
43. Citronella
(Cymbopogon winterianus - Thailand)
ซิโทรเนลลา หรือน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม มีสีใสถึงเหลืองอ่อน มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับตะไคร้บ้านหรือ เลมอนกราส มีกลิ่นหอมค่อนข้างฉุนและแหลม ช่วยดับกลิ่นปรับปรุงให้อากาศบริสุทธิ์และฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการระคายเคืองและบวมจากแมลงกัดต่อย กลิ่นหอมของตะไคร้หอมมีฤทธิ์ช่วยไล่แมลง โดยเฉพาะยุง ได้เป็นอย่างดี เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพคุ้มราคา ด้วยเหตุนี้จึงถูกนิยมนำไปผสมใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
|
|
|
|
|
|
44. Citronella Ceylon
(Cymbopogon nardus - Sri Lanka)
น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมจากศรีลังกา มีกลิ่นหอมสดชื่นคล้ายมะนาวและนุ่มกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการกลิ่นที่ฉุนแหลมของตะไคร้หอมไทย มีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นปรับปรุงให้อากาศบริสุทธิ์และฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการระคายเคืองและบวมจากแมลงกัดต่อย กลิ่นหอมของตะไคร้หอมมีฤทธิ์ช่วยไล่แมลง โดยเฉพาะยุง ได้เป็นอย่างดี เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพคุ้มราคา ด้วยเหตุนี้จึงถูกนิยมนำไปผสมใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
|
|
|
|
|
|
45. Clary Sage
(Salvia sclarea - France)
น้ำมันหอมระเหยคลารี่เสจ เป็นน้ำมันที่มีประโยชน์กับผู้หญิงมาก ด้วยคุณสมบัติลดอาการวูบวาบ ปวดประจำเดือน ลดความมันของผิว เสริมสร้างเซลล์ผิวใหม่และกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม เป็นสารกระตุ้นโดยธรรมชาติช่วยให้รู้สึกตื่นตัวสดชื่น มีกลิ่นหอมติดทนนาน เข้ากันได้ดีกับคาโมมายล์และลาเวนเดอร์ โดยเฉพาะการรักษาอาการปวดไมเกรน โดยผสมน้ำมันทั้งสามชนิดเข้าด้วยกันแล้วนำไปประคบเย็นที่บริเวณศีรษะเพื่อลดอาการปวด ช่วยให้ผ่อนคลาย
.. [ข้อมูลเพิ่มเติม]
|
|
|
|
|
|
|